โครงการสุขภาพดี 4.0 เพื่อปรับปรุงการดูแลสุขภาพของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

สุวรรณี ขนขจี, ทิพย์สุดา วิไล วงศ์เมธานุเคราะห์, ชานน สกาว์วัฒนานนท์, สุกัลยา โพทอง, ธันนี พุ่มอยู่, สุพิชชา สุวรรณเตมีย์, กัลยาภรณ์ นำทอง, พัชรี ก๋งอุบล, ทัศนีย์ มาลา

บทคัดย่อ

     ด้วยสังคมการทำงานในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การประกอบกิจกรรมการทำงานจึงมีความรวดเร็ว เร่งด่วน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนที่ทำงาน จากการสังเกตพบว่าจำนวนบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีอาการเจ็บป่วยต่างๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับลักษณะงานที่จะต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน หรือ ทำงานที่ทำซ้ำๆ บ่อยๆ จนทำให้เกิดเป็นกลุ่มอาการ ที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม เช่น อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่ อาการยกแขนไม่ขึ้น อาการปวดหลัง อาการอักเสบของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ เป็นต้น จากสาเหตุต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น

     โดยทางกลุ่ม Strong Story2 จึงได้จัดให้มี “โครงการสุขภาพดี 4.0” เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ในลำดับแรกได้จัดทำแบบสอบถามบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ (เฉพาะส่วนกลาง) โดยเลือกหัวข้อ อาการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากที่ทำเป็นประจำ ซึ่งเกิดจากอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยมีผู้ตอบปวดหลัง ปวดคอ เป็นอันดับ 1 ทางกลุ่มจึงได้ให้ความรู้ และจัดทำคลิปวิดีโอสั้นๆ เพื่อประกอบการนั่งที่ถูกต้องเพื่อลดอาการดังกล่าว โดยนำเสนอผ่าน Web site และคิวอาร์โค๊ต

    เพราะบุคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนคณะฯ มีสุขภาพที่ดี ก็จะทำให้ผลผลิตของงานในองค์กรดีและยังเป็นการลดผลกระทบจากการลาป่วย ช่วยลดค่ารักษา พยาบาลอีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแล สุขภาพ

2. เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีสุขภาพที่แข็งแรง

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. ประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น วิเคราะห์หารากและสาเหตุของปัญหา โดยเลือกหัวข้อ อาการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากงานที่ทำเป็นประจำ ซึ่งเกิดจากอาการ ป่วยเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

2. จัดทำแบบประเมินก่อนการดำเนินโครงการ โดยส่งแบบสอบถามให้กับบุคลากร ส่วนกลาง จำนวน 147 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 117 คน

3. ร่วมพัฒนาและออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสม โดยได้จัดทำคลิปวิดีโอสั้นความยาว ไม่เกิน 3 นาที เนื้อหาในคลิปวิดีโอจะเกี่ยวกับการนั่งทำงานที่ถูกวิธีและอัพโหลดไว้ ที่หน้าเว็บเพจ เพื่อให้บุคลากรได้ดูเป็นความรู้

4. ประเมินผลการจัดกิจกรรม (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

รูปที่ 1. วิเคราะห์หารากและสาเหตุของปัญหา

สรุปผลการดำเนินงาน

1. จัดทำแบบสอบถามก่อนการดำเนินโครงการ โดยส่งแบบสอบถามให้กับบุคลากร
ส่วนกลาง จำนวน 147 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 117 คน สรุปได้ดังนี้

   – ผู้ตอบแบบสอบถาม เพศชาย จำนวน 30 คน (25.6%) และเพศหญิง จำนวน 87 คน (74.4%)

   – ช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถามจะอยู่ที่ระหว่าง 30-39 ปี และ 40-49 ปี (32.5%) มากที่สุด

   – อายุงานของผู้ตอบแบบสอบถาม จะอยู่ที่ระหว่าง 1 – 10 ปี (54.7%) มากที่สุด

   – อาการที่ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าคือโรคออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดหลัง ปวดคอ
มากที่สุด (83.8%) และรองลงมาคืออาคารปวดแขน ขา และข้อต่อ (57.3%)

– ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก มีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย คือ หลัง (34.8%) และไหล่
   (29.6%) และมีอาการปวด ระดับ 4-6 คะแนน คือ มีอาการปวดปานกลาง (47.9%)

2. สรุป จากผู้ตอบแบบสอบถามว่าท่านมีอาการเจ็บปวดตามร่างกายในส่วนใด พบว่าผู้ตอบ
แบบสอบถามมีอาการเจ็บปวดบริเวณหลังมากที่สุด = 34.8% จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด รองลงมาคือไหล่ = 29.6% จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม ทางกลุ่มได้จัดทำคลิปวิดีโอสั้นๆ เพื่อประกอบการนั่งที่ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยนำเสนอผ่าน Web site http://www.hr.eng.chula.ac.th/index.php/office-syndrome/

3. ประเมินผลการจัดกิจกรรม

รูปที่ 2. เพศ
รูปที่ 3. ช่วงอายุ
รูปที่ 4. ระยะการทำงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์
รูปที่ 5. ท่านคิดว่าการแสดงอาการในข้อใดต่อไปนี้ คืออาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
รูปที่ 6. ท่านมีอาการเจ็บปวดตามร่างกายในส่วนใด
รูปที่ 7. จากข้อที่ 5 ความเจ็บปวดของท่านอยู่ในระดับใด ตามแบบประเมินระดับความเจ็บปวด โปรดให้คะแนนอาการปวดเมื่อยตามระดับความรุนแรงระดับที่ 0 – 10 คะแนน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. บุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

2. บุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีสุขภาพที่แข็งแรง

Video ท่านั่งทำงานที่ถูกวิธี